Ads 468x60px

วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดจองคำ

 


original_MBoran118-G2K


วัดจองคำงาว


ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทย ใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็น ศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม

ถ้ำผาไท
































        
 

ถ้าผไท


 มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าสงวนแห่งชาติ 9 แห่งในอำเภอต่างๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ ดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,253 เมตร พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นทางน้ำไหลลงทางด้านตะวันตกไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ทาง
ตอนเหนือของอำเภอสองจังหวัดแพร่

    อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีบันได 283 ขั้นก่อนเข้าถ้ำ มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ26 องศาเซลเซียส
อากาศเย็นที่สุดอยู่ในเดือนมกราคมฝน จะตกหนักในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดิน เป็นต้น  แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานฯ ถ้ำผาไท สันนิษฐานว่าถูกค้นพบโดยพรานป่าล่าสัตว์ หรือจากการสำรวจเส้นทางหลวงแผ่นดิน ภายในถ้ำ เป็นโถงขนาดใหญ่ที่เกิดจากภูเขาหินปูน อายุไม่น้อยกว่าเก้าล้านปียาวลึกจากปากถ้ำ เข้าไป ประมาณ 1,150 เมตร ตลอดเส้นทางอุทยานฯ ได้ติดตั้งไฟให้สว่างเพื่อสะดวกสำหรับเดินชม หินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายในถ้ำ และมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ภายในถ้ำ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2469 ดังปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธย
ย่อปปร.ภายในถ้ำค้างคาวจำนวนมากได้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมีถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีประวัติ
เก่าแก่สามารถเดินถึงได้จากถ้ำผาไท


การเดินทาง   ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงราย อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
      อุทยานฯ มีพื้นที่กางเต็นท์และบ้านพักรับรอง 2 หลัง สำหรับนักท่องเที่ยวประมาณ 25 คน แต่ไม่มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว ต้องเตรียมอาหาร และเครื่องนอนไปเอง ติดต่อได้ที่ หมู่ 3  ต.บ้านหวด  อ.งาว จ.ลำปาง  52110
โทร.08 3203 7330 , 08 6914 798

วันพ่อแห่งชาติ






ประวัติ[แก้]


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อฮ่อน เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"

วัตถุประสงค์[แก้]

  • เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
  • เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
  • เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

กิจกรรม[แก้]

  1. ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน
  2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความสำคัญของวันครู





16 มกราคม วันครู
ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา 

ปญญาวุฑฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิห
ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในการให้การศึกษาเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการและประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
ด้วยเห็นความสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้นในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม



ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู
ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครูและเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป 
ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู 
วันครูได้จัดให้มีในครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครูจัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู




การจัดงานวันครูในส่วนกลาง
มีการจัดงานวันครูขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ปัจจุบันในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน พิธีจะเริ่มขึ้นในตอนเช้า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์ และประชาชนทั่วไปร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นจึงเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา 
นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีกระทรวงศึกษากล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วมีพิธีบูชาบูรพจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ จากนั้นประธานจัดงานวันครูจะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ นำผู้ร่วมประชุมกล่าวปฎิญาน

ค้าขาย







 ร้านของชำ
หากตอนนี้คูณกำลังมองหาอาชีพที่เป็นนายของตัวเองและมีความอิสระ วันนี้เราจะมาแนะนำธุรกิจร้านของชำที่สามารถทำได้ง่ายและให้ท่านสามารถเลือกแบบได้ตามที่ชอบค่ะ หากท่านมีพื้นที่มากหรือ พื้นที่น้อยก็จัดให้เป็นระเบียบได้เหมือนกันค่ะ สำคัญต้องสะอาด มีความสว่าง ที่สินค้าให้เลือกสรรค์มาก สินค้าราคาเหมาะสมค่ะ จะเห็นได้ว่าลักษณะร้านไม่จำเป็นต้องใหญ่เราก้สามารถนำของมาวางให้เป็นระเบียบและจัดให้ดึงดูดลูกค้าได้ค่ะ
จะเห็นได้ว่ารูปข้างล่างร้านของชำที่เรียบง่าย คลาสสิคค่ะ ดูแล้วสบายตา ชวนให้จัดแจงซื้อของ สถานที่ดูสะอาด ไม่รกจนเกินไปค่ะ

รถเช่า


รู้จัก รถเช่า คืออะไร รถตู้เช่า หมายถึงอะไร

      รถยนต์จัดเป็นสินทรัพย์ที่ทำรายได้ประเภทหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นกัน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อรถยนต์ ติดตามด้วยค่า
ประกันภัยค่าซ่อมบำรุงรักษา และภาษีประจำปี ซึ่งนับวันค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจหลายแห่งจึงใช้บริการรถเช่าแทนที่จะ
ทำการจัดซื้อรถยนต์ไว้ใช้เอง ซึ่งทำให้ได้รับความสะดวกสบาย ลดความยุ่งยากและลดต้นทุนในการบริหารรถยนต์ โดยยกภาระดังกล่าวให้บริษัทรถเช่า
ที่มีประสบการณ์สูงไปดำเนินการแทน

ลักษณะทั่วไปของธุรกิจรถเช่า

 ลักษณะทั่วไปของการประกอบกิจการธุรกิจรถเช่า จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

      1. การให้เช่ารถยนต์เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นการให้เช่าที่ทำเป็นสัญญาเช่าให้สิทธิลูกค้าใช้รถยนต์เป็นระยะนับปี โดยลูกค้าจะจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนและรับผิดชอบในส่วนของค่าน้ำมันที่ใช้ ส่วนผู้ให้เช่ารับผิดชอบในค่าบำรุงรักษา ค่าประกันภัย ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าสามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวออกให้ผู้อื่นเช่าได้อีก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
      2. การให้เช่ารถยนต์ชั่วคราวระยะสั้น (Rental) เป็นการให้เช่าที่ให้สิทธิลูกค้าเลือกที่จะใช้บริการเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน โดยมีรถยนต์ให้เลือกใช้งานหลายประเภททั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้และรถปิคอัพที่มีให้เลือกหลายรุ่นหลายขนาด พร้อมทั้งให้บริการคนขับหรือเลือกขับเองก็ได้
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรถเช่าประมาณ 180 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ให้บริการเช่ารถยนต์ชั่วคราวเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะให้เช่าเพื่อการดำเนินงาน

ธุรกิจรถเช่า : ประโยชน์หลากหลายที่ลูกค้าจะได้รับ

      จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจหันมาใช้บริการเช่ารถยนต์เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) มากขึ้น ทดแทนการซื้อรถยนต์มาใช้งาน ซึ่งผู้เช่าจะได้รับประโยชน์จากบริการ ดังนี้

      1.ลดภาระทางการเงิน ซึ่งไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อรถยนต์
      2.ค่าเช่ารถยนต์ถือเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร สามารถนำไปลงรายการในบัญชีค่าใช้จ่ายได้
      3.มีบริการซ่อมบำรุงและตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามระยะทางตลอดอายุสัญญาการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์ รวมทั้งยังช่วยลดภาระในด้านบุคลากรที่ต้องทำหน้าที่ในส่วนนี้ด้วย
      4.ได้รับบริการที่สะดวกและคล่องตัวในกรณีรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ประกอบการรถเช่าจะมีพนักงานให้คำแนะนำพร้อมช่างฉุกเฉิน และรถซ่อมบำรุงเคลื่อนที่ออกให้ความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันยังมีรถยนต์ให้บริการระหว่างการซ่อมบำรุงที่ใช้เวลามากกว่า 1 วันด้วย
- See more at: http://elpasobiblechurch.com/?p=1#sthash.OuuDsjfi.dpuf

การสอบปลายภาค







หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร
หลักการ
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
        2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
        3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
จุดหมาย
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
        4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ระดับการศึกษา
        ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ 
        - ระดับประถมศึกษา 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
สาระการเรียนรู้
        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
        มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
        มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
        มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
        มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง
4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
        มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
        มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
        มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
        มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
        มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 
 
รูปแบบการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

        สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดบริการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายให้กับประชาชน 3 รูปแบบ ดังนี้
       1. แบบพบกลุ่ม
       2. แบบทางไกล
       3. แบบเทียบระดับการศึกษา



แบบพบกลุ่ม

       เป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนที่ต้องการเพิ่มความรู้ให้กับตนเองและมีเวลามาพบกลุ่ม ทุกสัปดาห์ ๆ ละไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในวันและเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและผู้เรียนตกลงกัน ใช้เวลาภาคเรียนละไม่น้อยกว่า 20 สัปดาห์ โดยรวมกับเวลาสอบ การจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีคะแนนเก็บกลางภาค และทดสอบปลายภาค แล้วนำผลคะแนนมารวมกันเพื่อตัดสินผลการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้มีเวลามาพบกลุ่มทุกสัปดาห์ และเปิดบริการทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย


แบบทางไกล

       การศึกษารูปแบบทางไกล ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนแล้วให้ศึกษาด้วยตนเองจากชุดการเรียนทางไกล ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ และเข้าสอบปลายภาค ณ สถานที่ที่สถานศึกษากำหนด การจัดการศึกษาแบบทางไกล ผู้เรียนจะไม่มีคะแนนเก็บกลางภาคใช้คะแนนสอบปลายภาคเป็นการตัดสินผลการเรียน นอกจากนี้ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ไม่มีเวลามาเรียน ทุกสัปดาห์ รับผู้เรียนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เท่านั้น


แบบเทียบระดับการศึกษา

       การศึกษาแบบนี้เป็นการประมวลประสบการณ์และความรู้ที่เป็นองค์รวมของ บุคคลตามคุณลักษณะ ที่สำคัญในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เพื่อรับรองความรู้ ความสามารถของผู้เข้ารับการประเมินให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เท่ากับระดับการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้ารับการประเมินต้องลงทะเบียนเข้ารับการประเมินและเสียค่าลงทะเบียน จากนั้นจัดทำแฟ้มผลงานตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ และเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน โดยมีการสอบข้อเขียน ปฏิบัติ และสัมภาษณ์ ตามวิธีการที่สถานศึกษากำหนด รูปแบบนี้ เหมาะสมกับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงาน ไม่ต้องมาเรียนแต่ต้องเตรียมองค์ความรู้ของตนเพื่อเข้ารับการประเมิน เปิดบริการประเมิน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
สาระการจัดการศึกษานอกโรงเรียน แบบพบกลุ่ม
       การจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ได้ยึดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  โดยมีการปรับสาระการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบ ดังนี้
       1.  สาระการเรียนรู้ที่ต้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา สาระการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน มี 8 หมวดวิชา ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ และหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 (พลานามัย) หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรีและนาฏศิลป์) และหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ซึ่งผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนให้ครบทั้งกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์
       2.  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมวลประสบการณ์และทักษะ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตร ไปพัฒนาความรู้ความสามารถของตนตามศักยภาพเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่จัดให้เรียน รู้ในหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการ คิดเป็น ในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และกระบวนการกลุ่มอันจะส่งผลให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียน หรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม มานับรวมเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ทั้งนี้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
              2.1   กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสิ่งแวดล้อมของครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ร่วมในสังคมและชุมชน ได้อย่างมีความสุข
              2.2   กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน