วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วัดจองคำ

 


original_MBoran118-G2K


วัดจองคำงาว


ตั้งอยู่ตำบลบ้านหวด บนถนนสายลำปาง-งาว ห่างจากตัวอำเภองาว 10 กิโลเมตร วัดจองคำเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง สถาปัตยกรรมก่อสร้างโดดเด่นเป็นสง่า เป็นศิลปะแบบไทยใหญ่ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด ตัววิหารชัยภูมิศิลปะแบบไทย ใหญ่หลังเดิมถูกรื้อย้ายมาไปไว้ ณ เมืองโบราณจังหวัดสมุทรปราการหลังที่เห็นปัจจุบันเป็น ศิลปะที่สร้างขึ้นมาใหม่ใน เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีได้มีการยกวัดราษฎร์ขึ้น เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ วัดจองคำได้รับคัดเลือกให้เป็นพระอารามหลวงแห่งใหม่ในจังหวัดลำปาง และเป็นโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดลำปาง แต่ละปีนักเรียนปริยัติธรรมสามารถสอบเปรียญธรรมบาลีได้หลายประโยคจนถึง ป.ธ.9 ได้รับพระราชทานอุปสมบทเป็นนาคหลวงจำนวนมาก เจ้าอาวาสและเจ้าสำนักได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ในราชทินนามว่าพระราชปริยัติโยดม

ถ้ำผาไท
































        
 

ถ้าผไท


 มีเนื้อที่ประมาณ 758,750 ไร่ ลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนปกคลุมด้วยผืนป่าสงวนแห่งชาติ 9 แห่งในอำเภอต่างๆ จุดสูงสุดอยู่ที่ ดอยแม่ขวัญซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 1,253 เมตร พื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังเป็นทางน้ำไหลลงทางด้านตะวันตกไหลลงสู่แม่น้ำยมที่ทาง
ตอนเหนือของอำเภอสองจังหวัดแพร่

    อุทยานแห่งชาติถ้ำผาไทเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีบันได 283 ขั้นก่อนเข้าถ้ำ มีอุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ26 องศาเซลเซียส
อากาศเย็นที่สุดอยู่ในเดือนมกราคมฝน จะตกหนักในเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม พบนกจำนวนมากกว่า 50 ชนิด เช่น นกปีกลายสก๊อต นกเขาเขียว นกเขาเปล้าธรรมดา นกเขาเปล้าหางเข็มทางภาคเหนือ เหยี่ยวขาว ฯลฯ มีแมลงหลากชนิด เช่น ผีเสื้อกลางวัน ด้วงหนวดยาว กว่างดาว ด้วงดิน เป็นต้น  แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในอุทยานฯ ถ้ำผาไท สันนิษฐานว่าถูกค้นพบโดยพรานป่าล่าสัตว์ หรือจากการสำรวจเส้นทางหลวงแผ่นดิน ภายในถ้ำ เป็นโถงขนาดใหญ่ที่เกิดจากภูเขาหินปูน อายุไม่น้อยกว่าเก้าล้านปียาวลึกจากปากถ้ำ เข้าไป ประมาณ 1,150 เมตร ตลอดเส้นทางอุทยานฯ ได้ติดตั้งไฟให้สว่างเพื่อสะดวกสำหรับเดินชม หินงอกหินย้อยที่มีอยู่มากมายในถ้ำ และมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ภายในถ้ำ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 เคยเสด็จประพาสเมื่อ พ.ศ. 2469 ดังปรากฏหลักฐานพระปรมาภิไธย
ย่อปปร.ภายในถ้ำค้างคาวจำนวนมากได้อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงมีถ้ำโจรและถ้ำเสือที่มีประวัติ
เก่าแก่สามารถเดินถึงได้จากถ้ำผาไท


การเดินทาง   ถ้ำผาไทตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เป็นเส้นทางจากตัวลำปาง-เชียงราย อยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 665 ห่างจากตัวจังหวัดลำปางมาทางจังหวัดพะเยา ประมาณ 65 กิโลเมตร หรือจะเดินทางโดยใช้เส้นทางสาย แพร่-งาว-เชียงราย ก่อนถึงอำเภองาว แยกซ้ายเข้าสู่จังหวัดลำปางประมาณ 15 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯ

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก
      อุทยานฯ มีพื้นที่กางเต็นท์และบ้านพักรับรอง 2 หลัง สำหรับนักท่องเที่ยวประมาณ 25 คน แต่ไม่มีร้านอาหารบริการนักท่องเที่ยว ต้องเตรียมอาหาร และเครื่องนอนไปเอง ติดต่อได้ที่ หมู่ 3  ต.บ้านหวด  อ.งาว จ.ลำปาง  52110
โทร.08 3203 7330 , 08 6914 798

วันพ่อแห่งชาติ






ประวัติ[แก้]


วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษา หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อขึ้นแห่งชาติ เนื่องจากพ่อฮ่อน เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคมที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"

วัตถุประสงค์[แก้]

  • เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
  • เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ
  • เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน

กิจกรรม[แก้]

  1. ประดับธงชาติไทยบริเวณอาคารบ้านเรือน
  2. จัดพิธีศาสนสงฆ์ ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล น้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล

ความสำคัญของวันครู





16 มกราคม วันครู
ปาเจราจริยา โหนติ คุณุตตรานุสาสกา 

ปญญาวุฑฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามิห
ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในการให้การศึกษาเรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการและประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
ด้วยเห็นความสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้นจึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้นในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม



ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู
ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครูและเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป 
ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็นวันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครู 
วันครูได้จัดให้มีในครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครูจัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู




การจัดงานวันครูในส่วนกลาง
มีการจัดงานวันครูขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ปัจจุบันในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภา โดยคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน พิธีจะเริ่มขึ้นในตอนเช้า โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์ และประชาชนทั่วไปร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ หลังจากนั้นจึงเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา 
นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีกระทรวงศึกษากล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วมีพิธีบูชาบูรพจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ จากนั้นประธานจัดงานวันครูจะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ นำผู้ร่วมประชุมกล่าวปฎิญาน

ค้าขาย







 ร้านของชำ
หากตอนนี้คูณกำลังมองหาอาชีพที่เป็นนายของตัวเองและมีความอิสระ วันนี้เราจะมาแนะนำธุรกิจร้านของชำที่สามารถทำได้ง่ายและให้ท่านสามารถเลือกแบบได้ตามที่ชอบค่ะ หากท่านมีพื้นที่มากหรือ พื้นที่น้อยก็จัดให้เป็นระเบียบได้เหมือนกันค่ะ สำคัญต้องสะอาด มีความสว่าง ที่สินค้าให้เลือกสรรค์มาก สินค้าราคาเหมาะสมค่ะ จะเห็นได้ว่าลักษณะร้านไม่จำเป็นต้องใหญ่เราก้สามารถนำของมาวางให้เป็นระเบียบและจัดให้ดึงดูดลูกค้าได้ค่ะ
จะเห็นได้ว่ารูปข้างล่างร้านของชำที่เรียบง่าย คลาสสิคค่ะ ดูแล้วสบายตา ชวนให้จัดแจงซื้อของ สถานที่ดูสะอาด ไม่รกจนเกินไปค่ะ

รถเช่า


รู้จัก รถเช่า คืออะไร รถตู้เช่า หมายถึงอะไร

      รถยนต์จัดเป็นสินทรัพย์ที่ทำรายได้ประเภทหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่นกัน เริ่มตั้งแต่การจัดซื้อรถยนต์ ติดตามด้วยค่า
ประกันภัยค่าซ่อมบำรุงรักษา และภาษีประจำปี ซึ่งนับวันค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจหลายแห่งจึงใช้บริการรถเช่าแทนที่จะ
ทำการจัดซื้อรถยนต์ไว้ใช้เอง ซึ่งทำให้ได้รับความสะดวกสบาย ลดความยุ่งยากและลดต้นทุนในการบริหารรถยนต์ โดยยกภาระดังกล่าวให้บริษัทรถเช่า
ที่มีประสบการณ์สูงไปดำเนินการแทน

ลักษณะทั่วไปของธุรกิจรถเช่า

 ลักษณะทั่วไปของการประกอบกิจการธุรกิจรถเช่า จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

      1. การให้เช่ารถยนต์เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) เป็นการให้เช่าที่ทำเป็นสัญญาเช่าให้สิทธิลูกค้าใช้รถยนต์เป็นระยะนับปี โดยลูกค้าจะจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือนและรับผิดชอบในส่วนของค่าน้ำมันที่ใช้ ส่วนผู้ให้เช่ารับผิดชอบในค่าบำรุงรักษา ค่าประกันภัย ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่าแล้ว ผู้ให้เช่าสามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวออกให้ผู้อื่นเช่าได้อีก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ
      2. การให้เช่ารถยนต์ชั่วคราวระยะสั้น (Rental) เป็นการให้เช่าที่ให้สิทธิลูกค้าเลือกที่จะใช้บริการเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน โดยมีรถยนต์ให้เลือกใช้งานหลายประเภททั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถตู้และรถปิคอัพที่มีให้เลือกหลายรุ่นหลายขนาด พร้อมทั้งให้บริการคนขับหรือเลือกขับเองก็ได้
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการรถเช่าประมาณ 180 ราย ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ให้บริการเช่ารถยนต์ชั่วคราวเป็นรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะให้เช่าเพื่อการดำเนินงาน

ธุรกิจรถเช่า : ประโยชน์หลากหลายที่ลูกค้าจะได้รับ

      จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัวลงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากขึ้น อาทิ อัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจหันมาใช้บริการเช่ารถยนต์เพื่อการดำเนินงาน (Operating Lease) มากขึ้น ทดแทนการซื้อรถยนต์มาใช้งาน ซึ่งผู้เช่าจะได้รับประโยชน์จากบริการ ดังนี้

      1.ลดภาระทางการเงิน ซึ่งไม่ต้องลงทุนจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อซื้อรถยนต์
      2.ค่าเช่ารถยนต์ถือเป็นค่าใช้จ่ายขององค์กร สามารถนำไปลงรายการในบัญชีค่าใช้จ่ายได้
      3.มีบริการซ่อมบำรุงและตรวจเช็คสภาพรถยนต์ตามระยะทางตลอดอายุสัญญาการใช้งาน ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถยนต์ รวมทั้งยังช่วยลดภาระในด้านบุคลากรที่ต้องทำหน้าที่ในส่วนนี้ด้วย
      4.ได้รับบริการที่สะดวกและคล่องตัวในกรณีรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งผู้ประกอบการรถเช่าจะมีพนักงานให้คำแนะนำพร้อมช่างฉุกเฉิน และรถซ่อมบำรุงเคลื่อนที่ออกให้ความช่วยเหลือ ขณะเดียวกันยังมีรถยนต์ให้บริการระหว่างการซ่อมบำรุงที่ใช้เวลามากกว่า 1 วันด้วย
- See more at: http://elpasobiblechurch.com/?p=1#sthash.OuuDsjfi.dpuf

การสอบปลายภาค







หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 เป็นหลักสูตรที่มุ่งจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองอุดมการณ์การจัดการศึกษาตลอดชีวิต การสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามปรัชญา “คิดเป็น” เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสังคม มีการบูรณาการอย่างสมดุลระหว่างปัญญาธรรม ศีลธรรม และวัฒนธรรม มุ่งสร้างพื้นฐานการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และพัฒนาความสามารถเพื่อการทำงานที่มีคุณภาพ โดยให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของผู้เรียน และสามารถตรวจสอบได้ว่า การศึกษานอกระบบเป็นกระบวนการของการพัฒนาชีวิตและสังคม สามารถพึ่งพาตนเองได้ และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง เป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกระบบโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน และการประกอบอาชีพ โดยการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ที่อยู่นอกระบบ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร
หลักการ
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดหลักการไว้ดังนี้
        1. เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างของบุคคล ชุมชน และสังคม
        2. ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
        3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
        4. ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
จุดหมาย
        หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีสติปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ จึงกำหนดจุดหมายดังต่อไปนี้
        1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
        2. มีความรู้พื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
        3. มีความสามารถในการประกอบสัมมาอาชีพให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และตามทันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
        4. มีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี และสามารถจัดการกับชีวิต ชุมชน สังคมได้อย่างมีความสุขตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
        5. มีความเข้าใจประวัติศาสตร์ชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย โดยเฉพาะภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ความเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
        6. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        7. เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ และบูรณาการความรู้มาใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ระดับการศึกษา
        ระดับการศึกษาแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 3 ระดับ คือ 
        - ระดับประถมศึกษา 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
        - ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
        โดยแต่ละระดับใช้เวลาเรียน 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอน แต่ทั้งนี้ต้องลงทะเบียนเรียนในสถานศึกษาอย่างน้อย 1 ภาคเรียน
สาระการเรียนรู้
        สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สาระการเรียนรู้ และ 18 มาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

1. สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 1.1 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        มาตรฐานที่ 1.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการใช้แหล่งเรียนรู้
        มาตรฐานที่ 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการจัดการความรู้
        มาตรฐานที่ 1.4 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการคิดเป็น
        มาตรฐานที่ 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีต่อการวิจัยอย่างง่าย

2. สาระความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร
        มาตรฐานที่ 2.2 มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีในงานอาชีพ มองเห็นช่องทาง และตัดสินใจประกอบอาชีพได้ตามความต้องการ และศักยภาพของตนเอง
4. สาระทักษะการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 4.1 มีความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
        มาตรฐานที่ 4.2 มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและเจตคติที่ดีเกี่ยวกับการดูแล ส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต
        มาตรฐานที่ 4.3 มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับศิลปะและ สุนทรียภาพ

5. สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน ดังนี้
        มาตรฐานที่ 5.1 มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง การปกครอง สามารถนำมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
        มาตรฐานที่ 5.2 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า และสืบทอดศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
        มาตรฐานที่ 5.3 ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย มีจิตสาธารณะ เพื่อความสงบสุขของสังคม
        มาตรฐานที่ 5.4 มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของหลักการพัฒนา และสามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน/สังคม

หมายเหตุ สาระการเรียนรู้ความรู้พื้นฐาน มาตรฐานที่ 2.1 มีความรู้ความเข้าใจทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับภาษาและการสื่อสาร ซึ่งภาษาในมาตรฐานนี้หมายถึง ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ 
 
รูปแบบการจัดการศึกษานอกโรงเรียน

        สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จัดบริการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายให้กับประชาชน 3 รูปแบบ ดังนี้
       1. แบบพบกลุ่ม
       2. แบบทางไกล
       3. แบบเทียบระดับการศึกษา



แบบพบกลุ่ม

       เป็นการจัดการศึกษาให้กับประชาชนที่ต้องการเพิ่มความรู้ให้กับตนเองและมีเวลามาพบกลุ่ม ทุกสัปดาห์ ๆ ละไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ในวันและเวลาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและผู้เรียนตกลงกัน ใช้เวลาภาคเรียนละไม่น้อยกว่า 20 สัปดาห์ โดยรวมกับเวลาสอบ การจัดการศึกษาดังกล่าวจะมีคะแนนเก็บกลางภาค และทดสอบปลายภาค แล้วนำผลคะแนนมารวมกันเพื่อตัดสินผลการเรียน และเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้มีเวลามาพบกลุ่มทุกสัปดาห์ และเปิดบริการทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย


แบบทางไกล

       การศึกษารูปแบบทางไกล ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนแล้วให้ศึกษาด้วยตนเองจากชุดการเรียนทางไกล ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต หรือสื่ออื่น ๆ และเข้าสอบปลายภาค ณ สถานที่ที่สถานศึกษากำหนด การจัดการศึกษาแบบทางไกล ผู้เรียนจะไม่มีคะแนนเก็บกลางภาคใช้คะแนนสอบปลายภาคเป็นการตัดสินผลการเรียน นอกจากนี้ต้องทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง รูปแบบนี้เหมาะสมกับผู้เรียนที่ไม่มีเวลามาเรียน ทุกสัปดาห์ รับผู้เรียนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เท่านั้น


แบบเทียบระดับการศึกษา

       การศึกษาแบบนี้เป็นการประมวลประสบการณ์และความรู้ที่เป็นองค์รวมของ บุคคลตามคุณลักษณะ ที่สำคัญในด้านความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม เพื่อรับรองความรู้ ความสามารถของผู้เข้ารับการประเมินให้เป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เท่ากับระดับการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้ารับการประเมินต้องลงทะเบียนเข้ารับการประเมินและเสียค่าลงทะเบียน จากนั้นจัดทำแฟ้มผลงานตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ และเตรียมตัวเข้ารับการประเมิน โดยมีการสอบข้อเขียน ปฏิบัติ และสัมภาษณ์ ตามวิธีการที่สถานศึกษากำหนด รูปแบบนี้ เหมาะสมกับผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์การทำงาน ไม่ต้องมาเรียนแต่ต้องเตรียมองค์ความรู้ของตนเพื่อเข้ารับการประเมิน เปิดบริการประเมิน 3 ระดับ ได้แก่ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย
สาระการจัดการศึกษานอกโรงเรียน แบบพบกลุ่ม
       การจัดการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการศึกษานอกโรงเรียน ได้ยึดสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544  โดยมีการปรับสาระการเรียนรู้ในแต่ละระดับการศึกษาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้เรียนการศึกษานอกระบบ ดังนี้
       1.  สาระการเรียนรู้ที่ต้องเรียนในแต่ละระดับการศึกษา สาระการเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียน มี 8 หมวดวิชา ประกอบด้วย กลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาวิทยาศาสตร์ และหมวดวิชาภาษาต่างประเทศ และหมวดวิชาประสบการณ์ 4 หมวดวิชา ได้แก่ หมวดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 1 (พลานามัย) หมวดวิชาพัฒนาทักษะชีวิต 2 (ดนตรีและนาฏศิลป์) และหมวดวิชาพัฒนาอาชีพ ซึ่งผู้เรียนทุกระดับการศึกษาต้องเรียนให้ครบทั้งกลุ่มหมวดวิชาพื้นฐาน และกลุ่มหมวดวิชาประสบการณ์
       2.  กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้นำมวลประสบการณ์และทักษะ ที่ได้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตร ไปพัฒนาความรู้ความสามารถของตนตามศักยภาพเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่จัดให้เรียน รู้ในหมวดวิชาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยใช้กระบวนการ คิดเป็น ในการดำเนินกิจกรรมบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม และกระบวนการกลุ่มอันจะส่งผลให้ผู้เรียน เป็นคนดี มีคุณธรรม และมีความสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเงื่อนไขที่ผู้เรียนทุกคนต้องทำก่อนการจบหลักสูตร โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมดังกล่าวทุกภาคเรียน หรือภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่งรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง โดยสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมหรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม มานับรวมเป็นกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ทั้งนี้กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
              2.1   กิจกรรมพัฒนาตนเองและครอบครัว เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสิ่งแวดล้อมของครอบครัว เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต อยู่ร่วมในสังคมและชุมชน ได้อย่างมีความสุข
              2.2   กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน

การศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง






การศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การปลูกผักสวนครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกผัก กินเองตามมีตามเกิด กับการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้แบบพอเพียง ไม่เหมือนกันซะทีเดียว แต่ก็ไม่ได้หนีห่างกันไปมากนัก เพราะความพอเพียง อยู่ที่ตัวเรากำหนดเองว่า แค่ไหน ระดับใด ขนาดไหนถึงจะไหว และขนาดไหนถึงจะเรียกว่า เกินตัว เพราะคำว่า พอเพียง ที่เป็นหลักเศรษฐกิจพอเพียงหลายๆ คนก็ทราบกันดีอยู่แล้วไม่ต้องอธิบายซ้ำไปมา แต่การอยู่รอดในแบบเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการปลูกผักสวนครัวกินเองนั้น ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเสมอไป ทุกวันนี้หลายๆ ครั้งหากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเกิดในแห่งหนตำบลใด ก็มีผลกระทบมาถึงตัวเราเสียหมด แม้ว่าแหล่งที่เกิดจะไกลออกไปอยู่คนละซีกโลก แต่กระนั้นผลกระทบมันก็ยังตามมาหลอกมาหลอนให้เราได้ลำบากได้เจ็บช้ำกันอยู่ดี ไม่ว่าจะด้วยพิษเศษรฐกิจ หรือผู้บริหารประเทศที่ผิดพลาดในการบริหาร และปัญหาอื่นๆ ยังไงแล้ว ประชาชนอย่างเราๆ ก็ยังต้องแบกรับภาระไม่มากก็น้อยอยู่ดี ดังนั้น การไม่มีปัญหา หรือมีปัญหาเดือดร้อนให้น้อยที่สุดอาจเป็นทางรอดสุดท้ายที่เราจะพอกระทำได้ ด้วยการพึ่งพาตนเองแบบพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ผักหลายๆ ชนิดไม่จำเป็นต้องหาซื้อมาจากท้องตลาด แต่สามารถปลูกเองที่บ้านได้โดยกรรมวิธีการปลูกที่ไม่ยุ่งยาก เรียกว่า ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตเร็ว ได้ผลผลิตไว้กินในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี ลดภาระค่าใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เหมาะจะปลูกเป็นการค้า เพราะครั้งนี้เราเน้น พอเพียงอย่างจริงจัง การรับประทานเหลือแล้วนำไปขายคงไม่เหมาะ เพราะแทบจะทุกครัวเรือน มีผักชนิดนี้อยู่ คงไม่ดีหากจะหอบหิ้วเอาผักที่ปลูกที่กินเหลือไปขายอย่างละนิดละหน่อย เพราะในความเป็นจริง ตลาดสดใกล้บ้านก็มีผู้ขายมากรายอยู่แล้ว มีความเป็นไปได้อย่างดีที่สุดคือการเดินเร่ขายตามบ้าน ในชุมชนที่ห่างไกลตลาดสดที่อาจพอจะหาได้ราย ได้บ้าง วันละ 100-200 บาท
ผักสวนครัว ปลูกง่าย โตเร็ว แบบเศรษฐกิจพอเพียง การปลูก ตะไคร้ ขุดดินและตากดินไว้ประมาณ 7 – 10 วัน ย่อยดินให้ละเอียด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าให้เข้ากับดินที่จะปลูกก่อนนำตะไคร้ไปปลูก โดยนำพันธุ์ที่เตรียมไว้ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณ 30 – 40 เซนติเมตร มาแช่น้ำประมาณ 5 – 7 วัน เพื่อให้รากงอก รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้ม นำไปปลุกในแปลงวางต้นพันธุ์ ให้เอียง 45 องศา ไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ตะไคร้อายุประมาณ 2 เดือนก็สามารถนำมาทำอาหารได้แล้ว การปลูก ข่า ขุดหลุมพรวนดิน และตากดินไว้ 1 อาทิตย์ แล้วผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่หาได้เอง แกลบดิบ เศษหญ้า เศษฟาง เศษใบไม้ ต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ใช้ฟางหรือเศษวัชพืชแห้งคลุมหน้าดิน แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ เพื่อเป็นการบ่มดิน ใช้หัวหรือแง่งแก่จัด จะให้ผลดีกว่าหัวหรือแง่งอ่อน ตัดเป็นท่อนยาว 3-4 นิ้ว มีข้อ ตา 4-5 ตา แผลที่เป็นรอยตัด ให้เอาปูนแดงกินหมากทาทุกแผล จากนั้นให้นำไปผึงลมในร่มปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง จึงนำไปปลูกโดยการวางท่อนพันธุ์แบบนอนทางยาว โดยให้ส่วนตาชี้ขึ้นด้านบน จัดรากให้ชี้กางออกรอบทิศทาง ใส่หลุมละ 1-2 หัว ห่างกัน 1-2 ฝ่ามือ แล้วกลบดินโดยทำเป็นโคกสูงขึ้นมาเล็กน้อยๆ ไม่ต้องกดดินให้แน่น แล้วคลุมหน้าดินด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้งใบไม้แห้ง เพื่อเก็บรักษาความชื้นหน้าดิน หลังจากที่ปลูกเสร็จแล้วให้รดน้ำตาม หลังจากปลูกไปแล้วประมาณ 15-20 วัน รากจะเริ่มเดิน ในช่วงนี้ควรให้น้ำ 2-3 วัน/ครั้ง และให้น้ำผสมปุ๋ยน้ำทำเอง 7-10 วันครั้งเดี๋ยวก็โตเป็นต้นต่อไป การปลูก ขมิ้น ขมิ้นชันสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่ที่เหมาะสมควรเป็นดินที่ระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง ถ้าเป็นดินเหนียวควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกก่อนเพื่อปรับปรุงคุณภาพของดิน การเตรียมดินก็ต้องพรวนดินก่อน การปลูกขมิ้นชันอาจใช้ท่อนพันธุ์ได้ 2 ลักษณะคือใช้หัวแม่ และใช้แง่ง ถ้าปลูกโดยใช้หัวแม่ที่มีรูปร่างคล้ายรูปไข่ขนาดน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/หัว ขมิ้นชัน เมื่อเริ่มงอกยาวประมาณ 5-10เซนติเมตร ต้องรีบทำการกำจัดวัชพืช เนื่องจากขมิ้นชันหลังจากงอกจะเจริญเติบโตแข่งกับวัชพืชไม่ได้ และใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 50 กก./ไร่ เมื่อกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 ควรพรวนดินกลบโคนแถวขมิ้นชันด้วย หลังจากนั้นกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้งก็พอ การปลูก มะกรูด มะกรูดปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ระยะปลูกมะกรูดนั้นปลูกได้หลายระยะ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และพื้นที่ของผู้ปลูก ซึ่งระยะปลูกไม่ควรติดกันเกิน 1 เมตร การเตรียมเดินเหมือนการปลูกไม้ผลทั่วไป ขุดหลุม รองก้นหลุมด้วยขี้วัวผสมดิน น้ำต้นกล้าลงปลูก กลบดิน รดน้ำ คลุมฟาง และทำหลักปักกับต้นเพื่อกันโยกเวลาลมพัด ในการปลูกปีแรกนั้นแนะนำว่าควรทำที่พรางแสง หรืออาจจะปลูกต้นกล้วยระหว่างแถว ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการปลูกของผู้ปลูกแต่ละราย

about me

my name is surapee

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( computer   Assisted   instruction   CAI )   หมายถึง  การนำ

คอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำเสนอเนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบวิถีทางของการสอนรายบุคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกัน

                          ด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตียมไว้อย่างเหมาะสมซึ่งสามารถรูเนื้อหาและฝึกทักษะจากคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียนันหมายถึงการนำสื่อหลายชนิดมาผสมผสานเข้าด้วยกันโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมให้ทุกอย่างแสดงผลที่หน้าจอ  ประกอบด้วย  ภาพลายเส้น  ภาพเคลื่อนไหวเสียงตลอดจนตัวอักษรและเนื้อหาเพื่อจัดระเบียบเนื้อหาความรู้ที่จะแสดงผลออกมาจากตัวแสดงผลของคอมพิวเตอร์

 


ประวัติมวยไทย
 
1. มวยไทยกับคนไทย
....จากการจำแนกเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ คนไทยมีเชื้อชาติอยู่ในกลุ่มมองโกเลีย ลักษณะร่างกายโดยทั่วไปตัวเล็กกว่าคนที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว ความสูงโดยเฉลี่ย 5 ฟุต 3 นิ้ว ร่างกายล่ำสัน สมส่วน ทะมัดทะแมง น้ำหนักตัวน้อย มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูง มือมีเนื้อนุ่มนิ่ม ผิวสีน้าตาลอ่อน ผมดกดำ ขนตามตัวมีน้อย เคราไม่ดกหนา รูปศีรษะเป็นสัดส่วนดี ลูกตาสีดำตาขาวมีสีเหลืองเล็กน้อย กระพุ้งแก้มอวบอูม ใบหน้ากลม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเมืองร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ ใช้เรือเป็นพาหนะ จึงทำให้คนไทยสวมเสื้อผ้าน้อยชิ้น ไม่สวมหมวกและรองเท้า สามารถใช้อวัยวะหมัด เท้า เข่า ศอก ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว จึงนำไปผสมผสานกับการใช้อาวุธมีด ดาบ หอก เพื่อป้องกันตนเองและป้องกันประเทศ
....มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้วิวัฒนาการจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
2. มวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย
....สมัยกรุงสุโขทัยเริ่มประมาณ พ.ศ.1781 - 1951 รวมระยะเวลา 140 ปี หลักฐานจากศิลาจารึกกล่าวไว้ชัดเจนว่า กรุงสุโขทัยทำสงครามกับประเทศอื่นรอบด้าน จึงมีการฝึกทหารให้มีความรู้ความชำนาญในรบด้วยอาวุธ ดาบ หอก โล่ห์ รวมไปถึงการใช้อวัยวะของร่างกายเข้าช่วยในการรบระยะประชิดตัวด้วย เช่น ถีบ เตะ เข่า ศอก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
....หลังเสร็จสงครามแล้ว ชายหนุ่มในสมัยกรุงสุโขทัยมักจะฝึกมวยไทยกันทุกคนเพื่อเสริมลักษณะชายชาตรี เพื่อศิลปะป้องกันตัว เพื่อเตรียมเข้ารับราชการทหารและถือเป็นประเพณีอันดีงาม ในสมัยนั้นจะฝึกมวยไทยตามสำนักที่มีชื่อเสียง เช่น สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี นอกจากนี้ยังมีการฝึกมวยไทยตามลานวัดโดยพระภิกษุอีกด้วย วิธีฝึกหัดมวยไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ครูมวยจะใช้กลอุบายให้ศิษย์ ตักน้ำ ตำข้าว ผ่าฟืน ว่ายน้ำ ห้อยโหนเถาวัลย์ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและอดทนก่อนจึงเริ่มฝึกทักษะ โดยการผูกผ้าขาวม้าเป็นปมใหญ่ๆไว้กับกิ่งไม้ แล้วชกให้ถูกด้วยหมัด เท้า เข่า ศอก นอกจากนี้ยังมีการฝึกเตะกับต้นกล้วย ชกกับคู่ซ้อม ปล้ำกับคู่ซ้อม จบลงด้วยการว่ายน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายและผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน ครูมวยจะอบรมศีลธรรมจรรยา ทบทวนทักษะมวยไทยท่าต่างๆ จากการฝึกในวันนั้นผนวกกับทักษะท่าต่างๆ ที่ฝึกก่อนหน้านี้แล้ว
....สมัยกรุงสุโขทัยมวยไทยถือว่าเป็นศาสตร์ชั้นสูงถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรการศึกษาของกษัตริย์ เพื่อฝึกให้เป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีสมรรถภาพร่างกายดีเยี่ยม เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถในการปกครองประเทศต่อไป ดังความปรากฏตามพงศาวดารว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์กษัตริย์กรุงสุโขทัยพระองค์แรกทรงเห็นการณ์ไกลส่งเจ้าชายร่วงองค์ที่ 2 อายุ 13 พรรษา ไปฝึกมวยไทยที่ สำนักสมอคอน แขวงเมืองลพบุรี เพื่อฝึกให้เป็นกษัตริย์ที่เก่งกล้าในอนาคต และในปี พ.ศ. 1818 - 1860 พ่อขุนรามคำแหงได้เขียนตำหรับพิชัยสงคราม ข้อความบางตอนกล่าวถึงมวยไทยด้วย นอกจากนี้พระเจ้าลิไท เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ทรงได้รับการศึกษาจากสำนักราชบัณฑิตในพระราชวังมีความรู้แตกฉานจนได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ซึ่งสำนักราชบัณฑิตมิได้สอนวิชาการเพียงอย่างเดียว พระองค์ต้องฝึกภาคปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่าแบบมวยไทย และการใช้อาวุธ คือ ดาบ หอก มีด โล่ห์ธนู เป็นต้น

การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ


การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ


 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ

                        โดยจัด ส่งเสริม และพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีพ  เพื่อ การพัฒนาความรู้ ความสามารถ 
และทักษะในการประกอบอาชีพ ของบุคคลและกลุ่มบุคคล เป็นการแก้ปัญหาการว่างงาน และส่งเสริม
ความเข็มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชน
  
 

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  มี  4  ประเภท  คือ
                        2.1 การฝึกทักษะอาชีพ โดยจัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้น เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียน  
ให้มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการอาชีพ

                        2.2 การเข้าสู่อาชีพ  เป็นการพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถคิด  วิเคราะห์  แลกเปลี่ยนเรียนรู้  และ
พัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่อาชีพ

                     2.3 กลุ่มพัฒนาอาชีพ  เป็นการส่งเสริมความรู้และประสบการณ์แก่กลุ่มที่มีอาชีพประเภทเดียวกัน 
ให้สามารถพัฒนาปริมาณและ คุณภาพผลผลิตเข้าสู่การจำหน่ายมีรายได้ยิ่งขึ้น
  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
โดยกระบวนการกลุ่ม

                      2.4 การพัฒนาด้วยเทคโนโลยี  เป็นการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่ต้องการนำเทคโนโลยี
มาใช้ในการพัฒนาอาชีพและศักยภาพแก่ตนเองและกลุ่ม

                     การจัดการศึกษาอาชีพทั้ง  4 ประเภท เป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องทั้งการเรียนรู้และ
การประกอบอาชีพ
 มิได้แยกจากกันโดยเด็ดขาดเช่น  เมื่อเรียนพัฒนาอาชีพ  อาจจะต้องการความรู้  
ทักษะอาชีพบางอย่างที่มีเสริมให้อาชีพ ที่ดำเนินการอย่างมีคุณค่ามากขึ้น

งานศึกษาเพื่อทักษะชีวิต



                                                

 กิจกรรมทักษะงานทักษะชีวิต
 
    ด้วยโรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์ ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นโรงเรียนนำร่องทักษะงานทักษะชีวิต พัฒนากระบวนการเรียนรู้บูรณาการแบบองค์รวม เมื่อปีการศึกษา 2556  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตร ได้พิจารณาความหมายของทักษะงานทักษะชีวิต ได้ดังนี้
                ทักษะงาน  คือ การลงมือทำงานต่างๆด้วยตนเอง โดยมุ่งเน้นการฝึกฝนวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ มีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 1.  การวิเคราะห์งาน   2.  การวางแผนการทำงาน  3.  การลงมือทำงาน                                      4. การประเมินผลงาน  ทักษะสำคัญที่นักเรียนควรมี คือ ทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์  ทักษะด้านการฟังและพูด  ทักษะด้านการเขียน  ทักษะด้านการแก้ปัญหา  ทักษะด้านการบริหารเวลา   มีมนุษย์สัมพันธ์เป็นเลิศ            มีความอดทน และมีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
                ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆรอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตที่สำคัญ ไว้                                                          4 องค์ประกอบ ดังนี้
                1.  การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
                                การรู้จักความถนัด ความสามารถ  จุดเด่น จุดด้อยของตนเอง เข้าใจความแตกต่างของแต่ละบุคคล รู้จักตนเอง ยอมรับ เห็นคุณค่า และภาคภูมิใจในตนเองและผู้อื่น มีเป้าหมายในชีวิตและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
                2.  การวิเคราะห์ ตัดสินใจ  และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
                                การแยกแยะข้อมูล ข่าวสาร ปัญหาและสถานการณ์รอบตัว วิพากษ์วิจารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัวด้วยหลักเหตุผลและข้อมูลที่ถูกต้อง รับรู้ปัญหา หาทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์
 
                3.  การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
                                ความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของบุคคล รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธีผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ไม่พึงประสงค์ไปในทางที่ดี
                4.  การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
                                การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น ใช้ภาษาพูดและภาษากาย เพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รับรู้ความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของผู้อื่น วางตัวได้ถูกต้อง เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ใช้การสื่อสารที่สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดี สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
                จุดเน้นในการพัฒนาองค์ประกอบทักษะงานทักษะชีวิต มีดังนี้
 
ชั้น ม.1 รู้ความถนัด ความสามารถ และบุคลิกภาพของตนเอง
                รู้จักจุดเด่น จุดด้อยของตนเอง รู้เท่าทันชีวิต และสังคมที่เปลี่ยนแปลง และจัดการความขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสม
ชั้น ม .2  ทำงานร่วมกับผู้อื่นบนพื้นฐานความเป็นประชาธิปไตย และมีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม
                กล้าแสดงความคิดเห็น ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้การสื่อสารเชิงบวก ที่สร้างความสัมพันธ์                ที่ดี คลายเครียดด้วยวิธีการสร้างสรรค์ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม
ชั้น ม .3  มีทักษะในการแสวงหาและใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์กับตนเอง รู้จักสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น
                มีทักษะในการแสวงหาและใช้ข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ มีวิธีการสร้างความสุขให้กับตนเองและผู้อื่น
ชั้น ม .4  มีทักษะการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการดำเนินชีวิตสู่ความสำเร็จ
                กำหนดทิศทางและวางแผนการดำเนินชีวิต  ปฏิบัติตนตามทิศทางเพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
ชั้น ม. 5  วางตัวและกำหนดท่าทีได้เหมาะสมกับกับบุคคลและสถานการณ์ ทางความคิด
                วางตัวได้เหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ และสถานการณ์ที่มีความยืดหยุ่นทางความคิด
ชั้น ม. 6  ประเมินและสร้างข้อสรุปบทเรียนชีวิตของตนเอง
                ประเมินและสรุปผลการกระทำ ประสบการณ์ที่ดีของตนเองและผู้อื่น เป็นบทเรียนในชีวิตของตนเองและเป็นแนวทางการใช้ทักษะชีวิตในอนาคต
 
                โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์จัดชั่วโมงเรียนให้กับนักเรียน ดังนี้  ชั่วโมงสุดท้ายของ                 วันจันทร์  อังคาร และวันพุธ เป็นชั่วโมงแลกเปลี่ยน ครูทุกคนมีบทบาทเป็นครูพ่อ ครูแม่ มีหน้าที่ฝึกอบรมทักษะในการศึกษาค้นคว้าแบบบูรณาการ การวางแผนการทำงาน การนำเสนอผลงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ระดับชั้นม.1- ม.6  มีจำนวนทั้งสิ้น  29 กลุ่ม มีชื่อเรียกกลุ่มต่างๆ อาทิเช่น กลุ่ม Minus ลบ                     กลุ่ม Gerbera  กลุ่มการเวก  กลุ่ม แรด  กลุ่มพระราม กลุ่ม สีดา เป็นต้น
              วันพฤหัส ตั้งแต่ชั่วโมงที่ 5-8  เป็นชั่วโมงเรียนรู้  ครูทุกคนจะมีบทบาทเป็นวิทยากร จัดกิจกรรมต่างๆตามความถนัด ความสนใจของครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระ นักเรียนชั้น ม.1- 4 จะเลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของตนเอง มีทั้งสิ้น 31 กิจกรรม อาทิเช่น  กิจกรรมสนทนาภาษาอังกฤษ  อารยธรรมจีน คณิตพาเพลิน  English is Fun    Star World  ดนตรีไทย  ตะกร้อ  ดนตรีสากล เพลงคุณธรรม ขนมไทย  อาหารในวรรณคดี  โอริงามิ  กลองยาว  แดนซ์เซอร์  เป็นต้น
ส่วนนักเรียนชั้น ม.5 - ม.6 จะทำโครงงานเกี่ยวกับ เศรษฐกิจพอเพียง ศิลปวัฒนธรรม  หรือสิ่งแวดล้อม มีทั้งสิ้น 15 โครงงาน อาทิเช่น  โครงงาน สืบสานตำนานกลองยาว  โครงงานน้ำส้มควันไม้ โครงงานCatfish ภารกิจพิชิตใจ    โครงงานร้านค้าพารวย  โครงงานไข่ทองคำ  โครงงานคืนกล้วยไม้สู่ป่าโรงเรียน โครงงานผักต้มยำผักทำแกง  โครงงานไม่ใช่แฟนทำแทนไม่ได้ โครงงานมะนาวหวาน โครงงานพืชผักสวนครัว  โครงงานทิพย์ดุริยางค์   เป็นต้น
               
การประเมินกิจกรรมทักษะงานทักษะชีวิต
                เป็นการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนให้มีพัฒนาการที่ดีตรงตามความต้องการของท้องถิ่นและสังคมโดย การประเมินความสามารถหรือแนวทางในการเผชิญสถานการณ์ต่างๆของผู้เรียนด้วยวิธีการสังเกต การแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่กำหนดให้และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ความคิด ความเชื่อ การรู้คิด และภูมิคุ้มกันทางปัญญา จากการสะท้อนความคิด และการแสดงพฤติกรรมต่อเนื่องหลังการเรียนรู้ ฯลฯ ซึ่งผู้ประเมินอาจเป็นครู เพื่อน ผู้ปกครองหรือผู้เรียนเป็นผู้ประเมินตนเอง